บทความ

ขายฝาก กับ จำนอง ต่างกันอย่างไร?

ขายฝาก กับ จำนอง ต่างกันอย่างไร?

ขายฝาก” และ “จำนอง” นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร??

หลายคนคงเคยได้ยินกันมาอยู่บ้างแล้ว แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เข้าใจถึงความแตกต่างของ “การขายฝาก และ การจำนอง” เพราะการทำธุรกรรมและการดำเนินงานบางอย่างนั้นมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก วันนี้บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ ขายฝาก และจำนอง ชั้นนำจะมาช่วยให้ทุกคนเข้าใจและสามารถแยกความแตกต่างกันได้ ไปดูกันเลย

ขายฝาก คืออะไร?

ขายฝาก คือ การนำทรัพย์สินของเราใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน โดยใช้ทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ และดอกเบี้ยภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ”ผู้ซื้อฝาก” ทันทีนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญากัน หากไม่สามารถไถ่ถอนได้ตามระยะเวลาที่ทำการตกลงกันไว้ ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นเรื่องฟ้องต่อศาล ซึ่งการทำธุรกรรมขายฝากนั้นจะต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน เท่านั้น!!

ขั้นตอนและเงื่อนไขการขายฝาก มีรายละเอียดดังนี้

     1. ผู้ซื้อฝาก (นายหน้า, นักลงทุน, บุคคลทั่วไป, นิติบุคคล, องค์กรอื่นๆที่ไม่ใช่ธนาคาร) ประเมินราคาพร้อมตีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการขายฝาก โดยเฉลี่ยราคาจะประมาณ 40 – 70% ของราคาประเมิน

     2. ผู้ซื้อฝากจะต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะต้องไม่เกิน 15% ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนด

     3. เมื่อเจรจาตกลงราคาแล้ว ต้องนัดวันเพื่อทำนิติกรรมสัญญาขายฝาก กับเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน 

     4. ณ กรมที่ดิน เมื่อทำสัญญาขายฝาก จดทะเบียนขายฝากและชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายฝากได้รับเงินตามที่ตกลง ในส่วนของผู้ซื้อฝากจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นทันที

      5. เงื่อนไขกำหนดเวลาการไถ่ถอน ต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี และต้องไม่เกิน 10 ปี

ค่าธรรมเนียมในการขายฝาก ณ กรมที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้

      1. ค่าธรรมเนียมโอนขายฝาก 2% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก

      2. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (กรณีถือครองน้อยกว่า 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านน้อยกว่า 1 ปี)

      3. ค่าอากรณ์แสตมป์ 0.5% (กรณีไม่เสียธุรกิจเฉพาะ)

      4. ค่าภาษีเงินได้

ค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอน ณ กรมที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้

      1. ค่าธรรมเนียมไถ่ถอนแปลงละ 50 บาท

      2. ค่าอากรณ์แสตมป์ 0.5%

      3. ค่าภาษีเงินได้

หมายเหตุ: กรณีหากไถ่ถอนอสังหาริมทรัพย์จากการขายฝาก **ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ**

จำนอง คืออะไร?

จำนอง คือ ขายฝาก คือ การนำทรัพย์สินของเราใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน โดยใช้ทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ และดอกเบี้ยภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งทรัพย์สินนั้นยังเป็นของเราอยู่ ไม่ได้เป็นของผู้รับจำนองแต่อย่างใด หากผู้ที่มาจำนองผิดนัดไม่ยอมชำระหนี้ ผู้รับจำนองจะต้องทำการยื่นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายเท่านั้น ไม่สามารถยึดทรัพย์ หรือนำที่ดินของผู้นำมาจำนองไปเลยทันทีไม่ได้

ขั้นตอนและเงื่อนไขการจำนอง มีรายละเอียดดังนี้

     1. เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละที่

     2. เตรียมเอกสารยื่นขอสินเชื่อ

     3. ทำการประเมินราคาหลักประกัน โดยบริษัทประเมิน (ซึ่งขั้นตอนนี้อยู่ระหว่างการตกลงกับผู้รับจำนองว่าจะประเมินที่ไหน อย่างไร)

     4. แจ้งผลอนุมัติวงเงิน และอัตราดอกเบี้ย (เมื่อผ่านการอนุมัติ)

     5. ทำเอกสารกู้เงินและสัญญาจดจำนอง ณ กรมที่ดิน เท่านั้น

ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ณ กรมที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้

     1. ค่าธรรมเนียมคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท

     2. ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ยืม แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

     3. ค่าอากรแสตมป์ (ค่าจำนองทุกๆ 2,000 บาท คิดอากรแสตป์ 1 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท)

ค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอน ณ กรมที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้

     1. มีเพียงแค่ค่าบริการและค่าธรรมเนียมแปลงละ 100-200 บาท เท่านั้น

สรุปความแตกต่างระหว่าง ขายฝาก และจำนอง

หัวข้อขายฝากจำนอง
ค่าธรรมเนียม
  • การจดทะเบียน ผู้ขายฝากจะต้องจ่าย ค่าธรรมเนียมในอัตรา 2% ของราคาประเมิน
  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินที่ดิน
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินที่ดิน หรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า (เฉพาะการขายฝากที่อยู่ในหลักเกณฑ์)
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า แต่หากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะได้รับยกเว้นค่าอากรแสตมป์
  • การจดทะเบียน ผู้จำนองจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ในอัตรา 1% ของวงเงินจำนอง
การค้ำประกันผู้ขายฝากบังคับมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝากทันทีผู้จำนองไม่ต้องมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝาก
สิทธิการใช้ทรัพย์สินผู้ขายฝากไม่มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ทรัพย์สินที่ถูกขายฝาก จนกว่าจะไถ่ถอนทรัพย์สินทั้งหมดออกไปผู้จำนองมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ทรัพย์สินต่อไปได้ 
ระยะเวลาไถ่ถอน

กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินคืนได้นับแต่เวลาขายฝาก โดยกฎหมายกำหนดทรัพย์สินทั้ง 2 ประเภทไว้ว่า

  • อสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 10 ปี  
  • สังหาริมทรัพย์ ไม่เกิน 3 ปี 
กฎหมายการจดจำนอง ไม่มีการกำหนดระยะเวลาในสัญญา ผู้จำนองสามารถชำระหนี้กับผู้รับจำนองจนกว่าจะครบยอดที่กำหนด

เป็นอย่างไรกันบ้าง จากข้อมูลที่เรารวบรวมสรุปมาให้ทุกคนนั้น จะเห็นได้ว่าการขายฝาก และการจำนองมีจุดที่เหมือนกันหลายจุด แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันหลายจุดไม่แพ้กัน ดังนั้นผู้อ่านควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนทำนิติกรรมทุกรูปแบบ ดังนั้นหากได้ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำและดูแล ก็จะทำให้การทำนิติกรรม หรือธุรกรรมต่างๆเป็นไปได้อย่างราบรื่นและเข้าใจมากยิ่งขึ้น 

โดย บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ การขายฝาก การจำนอง รวมไปถึงการขอสินเชื่อระดับชั้นนำ ที่ได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานและผู้คนมากมาย หากท่านใดสนใจอยากให้เราเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อช่วยดูแลเหมือนเพื่อนคู่คิดและพร้อมให้คำแนะนำตลอดเวลา ติดต่อเราเข้ามาได้เลย

หมายเหตุ: เงื่อนไขการพิจารณาเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โทร : 02-096-2962

Line : @Pacharakrit.ppt หรือคลิก https://lin.ee/xqcU1Y1

E-mail : Pacharakrit.property@gmail.com

Website: www.pacharakritproperty.co.th

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.tb.co.th และ www.landprothailand.com 

[Tag] : จำนอง , ขายฝาก , ขายไปซื้อกลับ , ดอกเบี้ยต่ำ , สินเชื่อบ้าน , จำนองบ้าน , สินเชื่อที่ดิน , ขอสินเชื่อ , เงินทุน , เงินก้อน , รับจำนอง , กู้ซื้อบ้าน , บ้านแลกเงิน , จำนองที่ดิน , เงินกู้ , จำนองคอนโด , จำนองที่ดินเปล่า , จดจำนองอสังหาริมทรัพย์