การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ยอดฮิตสำหรับเรื่องการลงทุน เพราะถ้าเปรียบเทียบกับการลงทุนอื่นๆ เช่น ทองคำ หรือหุ้น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีความผันผวนน้อยกว่ามาก และได้ผลตอบแทบที่สูงกว่า ดังนั้น บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด รวบรวมข้อมูลมาให้ดูกันว่าปี 2567 นี้ สามารถลงทุนอสังหาฯในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกันเลย
1.การลงทุนแบบเก็งกำไร
การลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบเก็งกำไร เป็นรูปแบบการลงทุนที่นักลงทุนมือใหม่นิยม เช่น การทำกำไรจากการขายใบจองคอนโด ซึ่งเป็นการลงทุนระยะสั้น ใช้เงินลงทุนน้อย ได้ผลตอบแทนเร็ว
เทคนิคการลงทุน: ต้องศึกษาทำเลที่ตั้งโครงการ เพื่อให้ปล่อยง่ายและได้กำไรสูง ทำเลต้องอยู่ในทำเลที่ดี ใกล้รถไฟฟ้า ใกล้แหล่งงาน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ จำนวนโครงการที่ขายในย่านนั้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ขายใบจองได้เร็วและได้กำไร
2.การลงทุนแบบปล่อยเช่ารายเดือน
การลงทุนรูปแบบนี้ เหมาะกับนักลงทุนแบบเสือนอนกิน ซึ่งอาจต้องมีเงินเย็นหรือเงินเก็บในการลงทุน เพื่อไม่ให้เกิดภาระในอนาคต โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนอสังหาริมทรัพย์ทั้งคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ เพื่อปล่อยเช่ารายเดือน ซึ่งทำเลที่ตั้งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เช่าใช้ในการพิจารณา อีกทั้งความเหมาะสมของราคาค่าเช่า รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ผู้เช่าสามารถเก็บกระเป๋ามาแล้วเข้าอยู่ได้เลย ล้วนเป็นปัจจัยที่สามารถจะจูงใจผู้เช่า มีโอกาสที่จะปล่อยเช่าง่ายและได้ผลตอบแทนดี
เทคนิคการลงทุน: การลงทุนปล่อยเช่าแบบรายเดือน สามารถสร้างได้อย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยที่ผู้ลงทุนควรพิจารณาคือการคัดเลือกอสังหาริมทรัพย์ที่จะมาปล่อยเช่า ต้องอยู่ในทำเลดี ใกล้แหล่งงาน สถานศึกษา มีราคาค่าเช่าที่เหมาะสม ผู้เช่าสามารถต่อรองได้ จึงจะสามารถจูงใจผู้เช่าได้ในยุคนี้
3.การลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์
เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ และยังลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการลงทุนรูปแบบนี้ไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก แต่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาว แถมยังได้รับการบริหารจัดการเงินลงทุนแบบมืออาชีพที่นำเงินลงทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ มุ่งเน้นให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอในรูปของค่าเช่า โดยผลตอบแทนที่ได้จะถูกนำไปแบ่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนในรูปของเงินปันผล โดยปัจจุบันกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ส่วนมากจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6-10%
เทคนิคการลงทุน: แม้จะเป็นการลงทุนที่สะดวก มือใหม่ก็ลงทุนได้ มีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่คัดเลือกและลงทุนให้ แต่ทั้งนี้ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทำเลที่ตั้ง อัตราส่วนผู้เช่า เงินปันผล สภาพคล่อง และธุรกิจที่ลงทุน
**ทั้งนี้สามารถศึกษาข้อมูลได้จากหนังสือชี้ชวนของกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาการลงทุน และค้นหาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของกองทุนนั้น ๆ**
4.การลงทุนรีโนเวทบ้านเก่าขาย
เป็นการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นบ้านมือสอง คอนโดมือสอง มาตกแต่งใหม่แล้วขายต่อ ช่วยเพิ่มมูลค่าบ้านและคอนโด โดยนักลงทุนบางกลุ่มเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ จากการประมูลกรมบังคับคดี หรือทรัพย์สินรอการขายจากสถาบันการเงิน ที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด และมีทำเลที่ดีมารีโนเวทให้มีสภาพเหมือนใหม่ ตกแต่งให้สวยงาม แล้วขายต่อในราคาที่เพิ่มขึ้น
เทคนิคการลงทุน: พิจารณาในเบื้องต้นว่าบ้านหรือคอนโดที่กำลังสนใจนั้นสภาพโดยรวมเป็นอย่างไร สอดคล้องกับราคาที่ผู้ขายเสนอมาหรือไม่ และยังต้องคิดเผื่อไปถึงขั้นตอนการรีโนเวทด้วยว่า เมื่อทำออกมาแล้วมูลค่าของบ้านจะเพิ่มขึ้นประมาณเท่าไหร่ คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงรูปแบบการลงทุนที่ช่วยให้เหล่านักลงทุนมือใหม่ ได้ตัดสินใจลงทุนได้อย่างเหมาะสม ตรงตามความต้องการของตัวเองมากขึ้นในยุคปี 2567 แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง จะเสี่ยงสูงหรือเสี่ยงต่ำ ก็มีความเสี่ยงทั้งสิ้น ก่อนลงทุนจึงควรเตรียมความพร้อม ศึกษารูปแบบการลงทุนที่สนใจ ประเมินความเสี่ยง รับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน และผลตอบแทนที่ได้รับคุ้มค่าหรือไม่ ก่อนที่จะลงทุน ทั้งนี้ บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ซึ่งบริษัทเองนั้นเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ การขายฝาก การจำนอง รวมไปถึงการขอสินเชื่อ สามารถติดต่อเราเข้ามาได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร : 02-0962962
Line : @Pacharakrit.ppt หรือคลิก https://lin.ee/xqcU1Y1
E-mail : Pacharakrit.property@gmail.com
Website: www.pacharakritproperty.co.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ddproperty.com
[Tag] : จำนอง , ขายฝาก , ขายไปซื้อกลับ , ดอกเบี้ยต่ำ , สินเชื่อบ้าน , จำนองบ้าน , สินเชื่อที่ดิน , ขอสินเชื่อ , เงินทุน , เงินก้อน , รับจำนอง , กู้ซื้อบ้าน , บ้านแลกเงิน , จำนองที่ดิน , เงินกู้ , จำนองคอนโด , จำนองที่ดินเปล่า , จดจำนองอสังหาริมทรัพย์ , ซื้ออสังหาฯ , ซื้อขายอสังหาฯ , ซื้อขายทีดิน , ซื้อทีดิน , ซื้อบ้าน , ซื้อคอนโด , บ้าน , คอนโด , ที่ดิน , อสังหาฯ , อสังหาริมทรัพย์ , ลงทุนอสังหาฯ , นักลงทุนมือใหม่ , มือใหม่อสังหาฯ