บทความ

เอกสารการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90 และ 91) พร้อมขั้นตอน

หนึ่งเรื่องที่ผู้มีรายได้ต้องทำ คือ การยื่นภาษี เพราะปกติการจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ในทุกๆปี ซึ่งมีทั้งยื่นภาษีด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จะมาสรุปให้ฟังว่าเอกสารที่ใช้ยื่น และการยื่นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง มาสรุปกันเลย

 

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

 

บุคคลธรรมดามีแบบแสดงรายการเงินได้บุคคลธรรมดา 2 แบบ ดังนี้

  1. แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
  2. แบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

 

ตารางการเสียภาษี ดังนี้

 

เงินได้สุทธิต่อไป

อัตราภาษีเงินได้

0 – 150,000 บาท ยกเว้นภาษี
150,000 – 300,000 บาท 5%
300,001 – 500,000 บาท 10%
500,001 – 750,000 บาท 15%
750,001 – 1,000,000 บาท 20%
1,000,001 – 2,000,000 บาท 25%
2,000,001 – 5,000,000 บาท 30%
5,000,001 ขึ้นไป 35%

 

เอกสารยื่นภาษีมีอะไรบ้าง

  1. หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารยื่นภาษีที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ
  2. เอกสารลดหย่อนภาษี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา และบุตร, กองทุน , ประกันต่างๆ เป็นต้น

 

สามารถยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง ดังนี้

  1. สำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่
  2. หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้
  3. ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเองบนเว็บไซต์สรรพากร

 

ทำอย่างไร? กรณียื่นภาษีไม่ทัน

  1. หากยื่นภาษีไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนด จะต้องนำเอกสารยื่นภาษีไปยื่นเองที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และมีโทษการไม่ยื่นภาษีภายในกำหนดเวลา
  2. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
  3. กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
  4. กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ทั้งนี้ผู้อ่านอย่าลืมยื่นภาษีตามวัน เวลาที่ทางสรรพากรกำหนด เพื่อไม่ให้เสียค่าปรับกันนะครับ บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หวังว่าจะเป็นความรู้ให้ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากใครสนใจปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ การขายฝาก การจำนอง รวมไปถึงการขอสินเชื่อ สามารถติดต่อเราเข้ามาได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โทร : 02-0962962
Line : @Pacharakrit.ppt หรือคลิก https://lin.ee/xqcU1Y1
E-mail : Pacharakrit.property@gmail.com
Website: www.pacharakritproperty.co.th

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ddproperty.com

[Tag] : จำนอง , ขายฝาก , ขายไปซื้อกลับ , ดอกเบี้ยต่ำ , สินเชื่อบ้าน , จำนองบ้าน , สินเชื่อที่ดิน , ขอสินเชื่อ , เงินทุน , เงินก้อน , รับจำนอง , กู้ซื้อบ้าน , บ้านแลกเงิน , จำนองที่ดิน , เงินกู้ , จำนองคอนโด , จำนองที่ดินเปล่า , จดจำนองอสังหาริมทรัพย์ , ภาษีเงินได้ , บุคคลธรรมดา , ยื่นภาษี , ภาษีปี67 , อสังหาฯ , อสังหาริมทรัพย์