อีกหนึ่งมรดกที่มักจะถูกส่งต่อกันมาๆเรื่อย นั่นคือ ที่ดิน อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ววว่าที่ดินมักจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามกาลเวลา ดังนั้นจะดีกว่าไหมหากทุกคนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายการแบ่งมรดกที่ดิน เพื่อไม่ให้เกิดข้อถกเถียงหรือข้อผิดพลาดในอนาคต บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จะนำข้อมูลสำคัญ 4 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายมรดกที่ดินมีอะไรบ้าง
กฎหมายมรดกที่ดิน
คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินที่ตกทอดไปยังทายาทเมื่อเจ้าของที่ดินเสียชีวิตเเล้ว ซึ่งรายละเอียดและกฎหมายมรดกที่ดินที่ควรทราบมีดังนี้
1.มรดกที่ดินจะตกเป็นของบุคคลที่เจ้าของที่ดินระบุไว้ในพินัยกรรม ซึ่งเรียกว่า “การได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม”
2.กรณีที่เจ้าของที่ดินไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ที่ดินจะตกทอดแก่ทายาทตามลำดับของเจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็น “ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย”
3.ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินกับสำนักงานที่ดินโดยมีเอกสารที่จะต้องนำไปจดทะเบียนไว้ ดังนี้
- กรณีเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.3 ข. ขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
- กรณีเอกสารเป็น น.ส.3, น.ส.3 ก. ขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดินอำเภอ
4. ในกรณีที่พื้นที่นั้น ๆ ยกเลิกอำนาจของนายอำเภอเกี่ยวกับกฎหมายมรดกที่ดินไปแล้ว ผู้ที่ได้รับแบ่งมรดกที่ดินที่มีเอกสารเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก.,น.ส.3 ข. ต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่ตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
ใครบ้างที่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดิน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบดังนี้
- ผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องมีสิทธิตามพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม คือผู้ที่เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมส่งต่อมรดกที่ดินนั้นโดยระบุชื่อผู้สืบทอดไว้ชัดเจนตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
- ผู้ได้รับแบ่งมรดกที่ดินต้องเป็นทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม เมื่อเจ้าของที่ดินไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ผู้ที่มีสิทธิ์ในการรับมรดกที่ดินจะเป็นไปตามกฎหมายมรดกที่ดินมีการลำดับทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมไว้ดังนี้
ลำดับผู้ได้รับมรดกที่ดิน |
ผู้ได้รับมรดกที่ดิน |
ลำดับที่ 1 | ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ) |
ลำดับที่ 2 | ภรรยาหรือสามี (ต้องได้จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น) |
ลำดับที่ 3 | บิดาและมารดา |
ลำดับที่ 4 | พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกันฟ |
ลำดับที่ 5 | พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน |
ลำดับที่ 6 | ปู่ ย่า ตา ยาย |
ลำดับที่ 7 | ลุง ป้า น้า อา |
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขอรับมรดกที่ดิน
- ตามกฎหมายมรดกที่ดินได้ระบุไว้ว่าต้องนำหนังสือแสดงสิทธิ์ โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์มาสำหรับการดำเนินการตามขั้นตอน
- ใบมรณะบัตรของเจ้าของที่ดิน หรือทายาทที่เสียชีวิต
- ทะเบียนสมรส หย่า ของเจ้าของที่ดิน
- ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวของทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกคน
- ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินต้องไปสำนักงานที่ดิน หรือ นำเอกสารในการสละมรดกไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
- พินัยกรรม (ถ้ามี)
- ถ้าผู้รับมรดกที่ดินมีฐานะเป็นคู่สมรสจะต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายมาประกอบตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
- ถ้าผู้รับมรดกที่ดินเป็นบิดาของเจ้าของที่ดินต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้าของที่ดินหรือหลักฐานการรับรองบุตรมาประกอบตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
- ถ้าผู้รับมรดกที่ดินเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าของที่ดินต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
- นำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดมาแสดงในกรณีที่มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดกที่ดิน
- หากมีผู้รับมรดกที่ดินร่วมกันหลายคนและบางคนถึงแก่กรรมไปเเล้วจะต้องมีหลักฐานการเสียชีวิตของทายาทนั้นด้วย
- หากมีผู้จัดการมรดกที่ดิน หลักฐานที่ต้องนำไปตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด คือ คำสั่งศาล คำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ดิน หลักฐานการตายของเจ้าของที่ดิน ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดกที่ดิน โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
- การเตรียมค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนขอรับมรดกที่ดิน ดังนี้
- ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
- ค่าประกาศมรดกที่ดิน แปลงละ 10 บาท
- ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดกที่ดิน แปลงละ 50 บาท
- ค่าจดทะเบียนโอนมรดกที่ดิน ร้อยละ 2 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
- หากโอนมรดกที่ดินระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 0.5
จากที่แอดมินรวบรวมข้อมูลมาให้ หวังว่าจะช่วยให้ทุกคนหายสงสัยและเข้าใจรายละเอียดในเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หวังว่าจะเป็นความรู้ให้ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากใครสนใจปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ การขายฝาก การจำนอง รวมไปถึงการขอสินเชื่อ สามารถติดต่อเราเข้ามาได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร : 02-0962962
Line : @Pacharakrit.ppt หรือคลิก https://lin.ee/xqcU1Y1
E-mail : Pacharakrit.property@gmail.com
Website: www.pacharakritproperty.co.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ddproperty.com
[Tag] : จำนอง , ขายฝาก , ขายไปซื้อกลับ , ดอกเบี้ยต่ำ , สินเชื่อบ้าน , จำนองบ้าน , สินเชื่อที่ดิน , ขอสินเชื่อ , เงินทุน , เงินก้อน , รับจำนอง , กู้ซื้อบ้าน , บ้านแลกเงิน , จำนองที่ดิน , เงินกู้ , จำนองคอนโด , จำนองที่ดินเปล่า , จดจำนองอสังหาริมทรัพย์ , มรดก , ที่ดิน , มรดกที่ดิน , อสังหาริมทรัพย์ , อสังหาฯ , กรมที่ดิน , สำนักงานเขต