หลายคนทราบแล้วแต่อีกหลายคนอาจยังไม่ทราบเรื่องประเภทอาคารว่าแต่ละประเภทคืออะไร และบางอันก็มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย วันนี้ บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จะขอนำเสนอข้อมูลนี้เพื่อเป็นความรู้ สร้างความเข้าใจ และทำให้ผู้อ่านที่มีทรัพย์สินดังกล่าวสามารถใช้ปผระโยชน์จากประเภทอาคารของตนได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง โดยประเภทอาคารพระราชบัญญัติควบคุมอาคารนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 16 ประเภท ดังนี้
1. อาคารที่อยู่อาศัย คือ อาคารซึ่งโดยปกติบุคคลใช้อยู่อาศัยได้ทั้งกลางวัน และกลางคืนไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราว เช่น บ้านเดี่ยว
2. ห้องแถว คือ อาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไปมีผนังแบ่งอาคารเป็นคูหา และประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่
3. ตึกแถว คือ อาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไปมีผนังแบ่งอาคารเป็นคูหาและประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่
หมายเหตุ: ความแตกต่างระหว่าง “ตึกแถว” กับ “ห้องแถว” นั้นอยู่ที่ “ห้องแถว” ประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่ แต่ “ตึกแถว” ประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่
นอกจากจะต้องรู้ประเภทของอาคารแล้ว สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติม คือ สีของผังเมือง
4. บ้านแถว คือ ห้องแถวหรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้ว หรือแนวเขตที่ดินตัวอาคารแต่ละคูหา และมีความสูงไม่เกินสามชั้น
5. บ้านแฝด คือ อาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยก่อสร้างติดต่อกันสองบ้าน มีผนังแบ่งอาคารเป็นบ้าน มีที่ว่างระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคารด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของแต่ละบ้านและมีทางเข้าออกของแต่ละบ้านแยกจากกันเป็นสัดส่วน
6. อาคารพาณิชย์ คือ อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์พาณิชยกรรม หรือบริการธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตเทียบได้น้อยกว่า 5 แรงม้า และให้หมายความรวมถึงอาคารอื่นใดที่ก่อสร้างห่างจากถนน หรือทางสาธารณะไม่เกิน 20 เมตร ซึ่งอาจใช้เป็นอาคารเพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรมได้
7. อาคารสาธารณะ คือ อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนได้โดยทั่วไปเพื่อกิจกรรมทางราชการ, การเมือง, การศึกษา, การศาสนา, การสังคม, การนันทนาการ หรือการพาณิชยกรรม เช่น โรงมหรสพ, หอประชุม, โรงแรม, โรงพยาบาล, สถานศึกษา, หอสมุด, สนามกีฬากลางแจ้ง, สนามกีฬาในร่ม, ตลาด, ห้างสรรพสินค้า, ศูนย์การค้า, สถานบริการ, ท่าอากาศยาน, อุโมงค์, สะพาน, อาคารจอดรถ, สถานีรถ, ท่าจอดเรือ, โป๊ะจอดเรือ, สุสาน, ฌาปนกิจสถาน หรือศาสนสถาน
8. อาคารพิเศษ คือ อาคารที่ต้องการมาตรฐานความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยเป็นพิเศษ เช่น อาคารดังต่อไปนี้
(ก) โรงมหรสพ, อัฒจันทร์, หอประชุม, หอสมุด, หอศิลป์, พิพิธภัณฑสถาน หรือศาสนสถาน
(ข) อู่เรือ, คานเรือ หรือที่จอดเรือ สําหรับเรือขนาดใหญ่เกิน 100 ตันกรอส
(ค) อาคารหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสูงเกิน 15 เมตร หรือสะพานหรืออาคารหรือโครงหลังคาช่วงหนึ่งเกิน 10 เมตร หรือมีลักษณะโครงสร้างที่อาจก่อให้เกิดภยันตรายต่อสาธารณชนได้
(ง) อาคารที่เก็บวัสดุไวไฟ, วัสดุระเบิด หรือวัสดุกระจายแพร่พิษ หรือรังสีตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
9. อาคารอยู่อาศัยรวม คือ อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกออกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว
ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารนั้น อาคารอยู่อาศัยรวม อาจมีความหมายรวมไปถึงอพาร์ทเมนท์ หรือหอพัก ด้วย แต่ไม่ได้เจาะจังถึง “อาคารชุด” (ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด)
10. อาคารขนาดใหญ่ คือ อาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 1,000 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
หมายเหตุ: การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่ว หรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
11. สำนักงาน คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่ใช้เป็นสำนักงานหรือที่ทำการ
12. คลังสินค้า คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับเก็บสินค้า หรือสิ่งของเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืออุตสาหกรรม
13. โรงงาน คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
14. โรงมหรสพ คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์, แสดงละคร, แสดงดนตรี หรือแสดงมหรสพอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการแสดงนั้น โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
15. โรงแรม คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ภัตตาคาร หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่ขายอาคารหรือเครื่องดื่ม โดยมีพื้นที่สำหรับตั้งโต๊ะอาหารไว้บริการภายในอาคารหรือภายนอกอาคาร
16. ภัตตาคาร คือ อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่ขายอาคารหรือเครื่องดื่ม โดยมีพื้นที่สำหรับตั้งโต๊ะอาหารไว้บริการภายในอาคารหรือภายนอกอาคาร
อาคารแต่ละประเภทมีประโยชน์การใช้งานที่แตกต่างกัน และมีกฎหมายควบคุมเฉพาะในแต่ละประเภทอาคาร เพื่อให้การออกแบบโครงสร้างอาคาร การรับน้ำหนัก รูปแบบของผังอาคาร สอดคล้องกับการใช้งานของอาคารประเภทนั้น ดังนั้นเจ้าของอาคารจำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมายทุกประการ ตั้งแต่การขออนุญาตก่อสร้าง จนถึงการก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังมีข้อกฎหมายเรื่องการดูแลอาคาร และความปลอดภัย โดยเฉพาะอาคารที่เข้าข่ายต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบอาคารจามกำหนดเวลาด้วย เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ประเภทอาคารยังส่งผลต่อการเสียภาษีโรงเือนหรือภาษีบำรุงท้องถิ่นที่แตกต่างกันด้วยนั่นเอง
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลที่นำมาฝากในวันนี้ ทาง บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ การขายฝาก การจำนอง รวมไปถึงการขอสินเชื่อระดับชั้นนำ หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่สามารถช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจและนำข้อมูลต่างๆไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ทั้งนี้หากผู้อ่านท่านใดสนใจบริการของบริษัทเราสามารถติดต่อข้อมูลได้ตามรายละเอียดด้านล่างได้เลย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร : 02-0962962
Line : @Pacharakrit.ppt หรือคลิก https://lin.ee/xqcU1Y1
E-mail : Pacharakrit.property@gmail.com
Website : www.pacharakritproperty.co.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ddproperty.com
[Tag] : จำนอง , ขายฝาก , ขายไปซื้อกลับ , ดอกเบี้ยต่ำ , สินเชื่อบ้าน , จำนองบ้าน , สินเชื่อที่ดิน , ขอสินเชื่อ , เงินทุน , เงินก้อน , รับจำนอง , กู้ซื้อบ้าน , บ้านแลกเงิน , จำนองที่ดิน , เงินกู้ , จำนองคอนโด , จำนองที่ดินเปล่า , จดจำนองอสังหาริมทรัพย์ , ประเภทอาคาร , อาคารแต่ละประเภท , อสังหาริมทรัพย์ , อสังหาฯ