เคยสังเกตุหรือไม่ว่าทำไมอาคารหลายแห่งมีการเว้นช่องว่าง วันนี้ตอบได้เลยเป็นเรื่องของข้อกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง หรือการต่อเติมบ้าน โดยกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 55 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2543 โดยกำหนดให้มีระยะร่นอาคารและที่เว้นว่างเมื่อก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารไว้อย่างชัดเจน เจ้าของบ้านจึงต้องศึกษากฎหมายระยะร่นให้ดี เพื่อไม่ให้การสร้างบ้านผิดกฎหมายและได้รับบทลงโทษ วันนี้ บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จะมาสรุปข้อมูลให้ทุกคนทราบ
การวางผังตึกแถว ระยะร่นอาคารและที่เว้นว่าง คืออะไร??
ระยะร่น คือ ระยะห่างที่วัดจากตำแหน่งบนทางสาธารณะจนถึงแนวอาคาร ซึ่งมีทั้งการวัดจากเขตถนนและวัดจุดกึ่งกลางถนน โดยระยะร่นบ้านเดี่ยว ตึกแถว และอาคารสำนักงาน ก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทอาคารและขนาดของถนน ซึ่งระยะร่นจะต้องเป็นพื้นที่ว่างจากถนนจนถึงอาคาร โดยไม่สนใจแนวเขตที่ดินที่จะสร้างอาคารนั้น
ส่วนที่เว้นว่าง คือ ระยะห่างที่วัดจากแนวเขตที่ดินจนถึงแนวอาคารทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดที่เว้นว่างไว้ทั้งอาคารเดี่ยวและอาคารชุดที่เรียงติดกัน ดังนั้น ที่เว้นว่างกับระยะร่นบ้านจึงมีความแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดตามกฎกระทรวงฯ ที่สรุปเฉพาะหัวข้อที่จำเป็นต้องทราบ ดังนี้
1. ข้อกำหนดเกี่ยวกับที่เว้นว่าง (หมวดที่ 3)
1.1 พื้นที่ว่างภายนอกอาคาร (ข้อ 33)
- กรณีที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างภายนอกอาคารไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด
- กรณีไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด
หมายเหตุ: กรณีห้องแถวหรือการวางผังตึกแถวที่ทำตามข้อ 34 และข้อ 41 แล้วไม่ต้องทำตามข้อ 33 อีก
1.2 กรณีห้องแถวหรือตึกแถว (ข้อ 34)
- หากอาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้นและไม่ได้ตั้งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ ต้องมีที่เว้นว่างหน้าอาคารอย่างน้อย 6 เมตร
- หากอาคารสูงเกิน 3 ชั้นและไม่ได้ตั้งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ ต้องมีที่เว้นว่างหน้าอาคารอย่างน้อย 12 เมตร
- ต้องมีที่เว้นว่างหลังอาคารอย่างน้อย 3 เมตร
- ทุก ๆ 10 คูหาหรือความยาว 40 เมตร ต้องมีที่เว้นว่างอย่างน้อย 4 เมตร และเป็นช่องตลอดความลึกของที่ดิน
1.3 กรณีบ้านแถวที่ใช้อยู่อาศัย (ข้อ 36)
- บ้านแถวต้องมีที่เว้นว่างด้านหน้าอาคารอย่างน้อย 3 เมตร ด้านหลังอาคารอย่างน้อย 2 เมตร
- ทุก ๆ 10 คูหาหรือความยาว 40 เมตร ต้องมีที่เว้นว่างอย่างน้อย 4 เมตร และเป็นช่องตลอดความลึกของที่ดิน
1.4 กรณีบ้านแฝด (ข้อ 37)
- ต้องมีที่เว้นว่างด้านหน้าอาคารอย่างน้อย 3 เมตร
- ต้องมีที่เว้นว่างด้านหลังและด้านข้างอาคารอย่างน้อย 2 เมตร
2. ข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะร่น (หมวดที่ 4)
ลักษณะอาคาร |
ความกว้างถนน |
ระยะร่น |
อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร | น้อยกว่า 6 เมตร | จากจุดกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร |
อาคารสูงเกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร | น้อยกว่า 10 เมตร | จากจุดกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร |
อาคารสูงเกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร | 10-20 เมตร | จากเขตถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างถนน |
อาคารสูงเกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร | เกิน 20 เมตร | จากเขตถนนอย่างน้อย 2 เมตร |
2.1 กรณีอาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้นหรือ 8 เมตร (ข้อ 41 วรรค 1)
- หากถนนกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ต้องมีระยะร่นจากจุดกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร
2.2 กรณีอาคารสูงเกิน 2 ชั้นหรือ 8 เมตร หรือเป็นอาคารชุด (ข้อ 41 วรรค 2)
- หากถนนกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องมีระยะร่นจากจุดกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร
- หากถนนกว้างตั้งแต่ 10-20 เมตร ต้องมีระยะร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างถนน
- หากถนนกว้างเกิน 20 เมตร ต้องมีระยะร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 2 เมตร
2.3 กรณีอาคารอยู่ใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ (ข้อ 42)
- หากแหล่งน้ำกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องมีระยะร่นจากเขตแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- หากแหล่งน้ำกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ต้องมีระยะร่นจากเขตแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 6 เมตร
- หากเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องมีระยะร่นจากเขตแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 12 เมตร
2.4 กรณีการสร้างรั้ว (ข้อ 47)
- รั้วหรือกำแพงที่สร้างติดกับเขตถนน และมีระยะร่นรั้วจากเขตถนนน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างรั้วได้สูงไม่เกิน 3 เมตร โดยวัดจากระดับทางเท้าหรือถนน
ทั้งนี้ข้อกฎหมายทั้งหมดอ้างอิงจาก: กรมโยธาธิการและผังเมือง (https://www.dpt.go.th/th)
ทำไมต้องวางผังตึกแถวต้องมีระยะร่นและที่เว้นว่าง เพื่ออะไร??
- เพื่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัย
- เพื่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย
- เพื่อการก่อสร้างและซ่อมแซมอาคาร
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องของข้อกฎหมายระยะร่นอาคารและที่เว้นว่าง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลย ไม่เช่นนั้น บ้านหรืออาคารที่สร้างและต่อเติมนั้น อาจจะเปิดกฎหมาย เจ้าของจะต้องเสียค่าปรับหรืออาจถูกสั่งให้รื้อถอน ดังนั้นการเช็คข้อกฎหมายและมีความรู้ความเข้าใจก่อนการดำเนินการใดๆย่อมดีกว่าเสมอ บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หวังว่าจะเป็นความรู้ให้ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากใครสนใจปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ การขายฝาก การจำนอง รวมไปถึงการขอสินเชื่อ สามารถติดต่อเราเข้ามาได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร : 02-0962962
Line : @Pacharakrit.ppt หรือคลิก https://lin.ee/xqcU1Y1
E-mail : Pacharakrit.property@gmail.com
Website: www.pacharakritproperty.co.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ddproperty.com
[Tag] : จำนอง , ขายฝาก , ขายไปซื้อกลับ , ดอกเบี้ยต่ำ , สินเชื่อบ้าน , จำนองบ้าน , สินเชื่อที่ดิน , ขอสินเชื่อ , เงินทุน , เงินก้อน , รับจำนอง , กู้ซื้อบ้าน , บ้านแลกเงิน , จำนองที่ดิน , เงินกู้ , จำนองคอนโด , จำนองที่ดินเปล่า , จดจำนองอสังหาริมทรัพย์ , ระยะร่นอาคาร , ระยะร่น , อสังหาริมทรัพย์ , อสังหาฯ