เคยสงสัยไหมว่า ธุรกิจ SME คืออะไร? และทำไมหลายๆคนเรียกธรุกิจของตัวเองว่าะเป็น SME วันนี้ บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ให้สินเชื่อด้านอสังหาฯ และเราเองสนับสนุนธรุกิจ SME อยู่แล้วนั้นจะมาอธิบายให้ฟังว่าธุรกิจนี้คืออะไร
ธุรกิจ SME คืออะไร
ธรุกิจ SME คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises) ที่ดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการรายย่อย เป็นธุรกิจที่มีสินทรัพย์ไม่มาก และมีพนักงานไม่เยอะ ส่วนมากเริ่มต้นจากเงินลงทุนน้อย ๆ ของผู้ประกอบการ หรืออาจมาจากสินเชื่อของธนาคารก็ได้
จุดเด่นของธุรกิจ SME
คือ ความเป็นอิสระของผู้ประกอบการ และวิธีการดำเนินธุรกิจที่เน้นลงทุนในสินค้าและบริการที่จับต้องได้ เช่น การผลิตสินค้า การค้า การบริการ อาทิ ธุรกิจอาหาร โรงแรมขนาดเล็ก หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ประเภทของธุรกิจ SME มีอะไรบ้าง
ธุรกิจ SME สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขนาด เรียกสั้นๆว่า MSME ได้แก่ วิสาหกิจรายย่อย (Micro) วิสาหกิจขนาดย่อม (Small) และวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) แต่หากจะแบ่งย่อยตามประเภทกิจการด้วย ก็จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.กิจการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต คือ ธุรกิจที่ดำเนินการผลิตสินค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม หรือแม้แต่การทำเหมืองแร่ สามารถแบ่งตามขนาดของธุรกิจได้ดังนี้
- วิสาหกิจรายย่อย จะมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
- วิสาหกิจขนาดย่อม จะมีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานไม่เกิน 50 คน
- วิสาหกิจขนาดกลาง จะมีรายได้ไม่เกิน 100 – 500 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานไม่เกิน 50 – 200 คน
2.กิจการที่เกี่ยวข้องกับการค้า คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าปลีก ค้าส่ง รวมถึงการนำเข้าและการส่งออก สามารถแบ่งตามขนาดของธุรกิจได้ดังนี้ วิสาหกิจรายย่อย จะมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
- วิสาหกิจขนาดย่อม จะมีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
- วิสาหกิจขนาดกลาง จะมีรายได้ไม่เกิน 50 – 300 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานไม่เกิน 30 – 100 คน
3.กิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริการ คือ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม ร้านอาหาร การขนส่ง สุขภาพ การศึกษา ประกันภัย สามารถแบ่งตามขนาดของธุรกิจได้ดังนี้
- วิสาหกิจขนาดย่อม จะมีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
- วิสาหกิจขนาดกลาง จะมีรายได้ไม่เกิน 50 – 300 ล้านบาทต่อปี และมีการจ้างงานไม่เกิน 30 – 100 คน
จุดแข็งของธุรกิจ SME กับธุรกิจขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกัน
แม้ธุรกิจ SME จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กของคนตัวเล็กที่มีเงินทุนไม่มาก แต่ก็มีส่วนผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไม่น้อยเลยทีเดียว นั่นเป็นเพราะว่าธุรกิจ SME มีข้อได้เปรียบกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ในหลายๆได้ด้วยกัน ดังนี้
- ความคล่องตัว ธุรกิจ SME มีโครงการสร้างบริหารงานที่ไม่ซับซ้อน ผู้บริหารงานสามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว พร้อมปรับเปลี่ยนแผนการทำงานได้ตลอดเวลา จึงทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่
- ความสามารถในการเข้าถึงลูกค้า ธุรกิจ SME สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์อันดีนี้เองทำให้ ธุรกิจ SME ได้รับความเชื่อมั่น และรักษาฐานลูกค้าได้ดี
- โอกาสในการทำธุรกิจใหม่ ๆ ธุรกิจ SME เป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ และยังสามารถลงลึกหาไอเดียในการทำธุรกิจได้อย่างกว้างขวาง พร้อมทดลองโมเดลธุรกิจเล็ก ๆ ก่อนดำเนินการจนประสบความสำเร็จได้
- เป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่ไฟแรง ธุรกิจ SME ตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ ที่รักอิสระ และต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้บางคนเลือกทำธุรกิจ SME หรือรวมตัวกับเพื่อนเพื่อทำธุรกิจ องค์กรจึงเต็มไปด้วยความท้าทาย ไอเดียที่สดใหม่นั่นเอง
ข้อควรรู้ก่อนเริ่มธุรกิจ SME
- เริ่มต้นอย่างพอประมาณ ในการทำธุรกิจ SME เราสามารถคิดใหญ่ได้ แต่ต้องทำให้พอดีกำลัง ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยเงินจำนวนมาก หรือใช้ทรัพยากรมากเกินไป ควรเน้นที่ความคุ้มค่า เช่น การจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์ให้มาช่วยผลักดันธุรกิจในช่วงแรก แทนที่จะเลือกแรงงานที่ขาดประสบการณ์
- วางแผนการเงิน เรื่องเงินเป็นเรื่องจำเป็นมากต่อการทำธุรกิจ และเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง ในการทำธุรกิจ SME จึงต้องวางแผนการเงินให้ดี ควบคุมรายรับ รายจ่ายให้เหมาะสม ต้องพยายามให้ธุรกิจมีสภาพคล่องและกระแสเงินสดอยู่เสมอ
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน และช่วยลดต้นทุน เพราะเทคโนโลยีสามารถทำให้การผลิตให้มีประสิทธิภาพ และยังช่วยบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า เพื่อการทำการตลาดที่ตรงกลุ่มมากขึ้น
- การจับมือกับหุ้นส่วน เมื่อเริ่มต้นธุรกิจได้แล้ว ก็ควรมองหาพันธมิตรในการทำธุรกิจเพื่อสร้างความร่วมมือในอนาคต หุ้นส่วนเหล่านี้อาจช่วยต่อยอดธุรกิจ หรือเสริมแกร่งให้ธุรกิจไปได้ไกลและไวขึ้น
- การดูแลลูกค้าและคุณภาพของสินค้า ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ เพราะลูกค้าคือหัวใจของทุกธุรกิจ ซึ่งการดูแลให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจทำได้ตั้งแต่การสร้างสรรค์สินค้า หรือบริการที่ดี การใส่ใจในบริการหลังการขาย เพื่อให้ลูกค้าประทับใจและบอกต่อ มากไปกว่านั้น ควรสังเกตความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้า และปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้น
- รู้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจ SME ควรรู้กฎหมายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ หรือมีที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำ โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายภาษี กฎหมายแรงงาน หรือแม้แต่การทำสัญญากับคู่ค้า เพื่อลดข้อพิพาท ลดโอกาสเสียเปรียบทางธุรกิจ และป้องกันไม่ให้เกิดเบี้ยปรับหากกระทำผิดกฎหมาย
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายๆคนอาจจะทราบแล้วว่าธุรกิจ SME เป็นอย่างไร และมีข้อควรรู้ และข้อควรระวสังอะไรบ้างไม่มากก็น้อยจากบทความนี้ บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นบริษัทที่สนับสนุนในธุรกิจ SME อยู่แล้ว เราให้สินเชื่อแก่ธรุกิจดังกล่าวและอื่นๆมามากมาย หากใครสนใจปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ การขายฝาก การจำนอง รวมไปถึงการขอสินเชื่อ สามารถติดต่อเราเข้ามาได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร : 02-0962962
Line : @Pacharakrit.ppt หรือคลิก https://lin.ee/xqcU1Y1
E-mail : Pacharakrit.property@gmail.com
Website: www.pacharakritproperty.co.th
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ธนาคารกรุงไทย
[Tag] : จำนอง , ขายฝาก , ขายไปซื้อกลับ , ดอกเบี้ยต่ำ , สินเชื่อบ้าน , จำนองบ้าน , สินเชื่อที่ดิน , ขอสินเชื่อ , เงินทุน , เงินก้อน , รับจำนอง , กู้ซื้อบ้าน , บ้านแลกเงิน , จำนองที่ดิน , เงินกู้ , จำนองคอนโด , จำนองที่ดินเปล่า , จดจำนองอสังหาริมทรัพย์ , SME , ธุรกิจSME , ธุรกิจขนาดย่อม , ธุรกิจขนาดเล็ก , เริ่มต้นธุรกิจ