บทความ

ถมที่ดินให้ถูกกฎหมาย ทำอย่างไร??

สิ่งหนึ่งที่เจ้าของที่ดินต้องรู้เป็นอันดับแรก ก่อนจะสร้างบ้าน นั่นคือเรื่องของการถมที่ดิน เนื่อกจากเป็นฐานที่สร้างความมั่นคงให้กับตัวบ้านที่อยู่อาศัย แต่การจะถมที่ดินนั้นก็มีเรื่องของข้อกฎหมาย ประวัติที่ดิน และผู้รับเหมาเข้ามาเกี่ยวข้อง วันนี้ บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด รวบรวมข้อมูลนำมาฝากกัน เพื่อให้ศึกษารวมไปถึงสร้างความเข้าใจก่อนทำการถมที่ดินนั่นเอง 

 

รู้ไว้เรื่องกฎหมาย ก่อนถมที่ดินใหม่

ก่อนที่จะถมที่ดินเพื่อปลูกบ้านบนที่ดินของตนเอง อย่าลืมศึกษาเรื่องของข้อกฎหมายสำหรับการถมที่ดินด้วยนะ เพราะถือเป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างบ้าน หากศึกษาข้อมูลไม่ดีแล้วหล่ะก็อาจทำให้ที่ดินข้างเคียงเกิดความเสียหายตามมาได้ ดังนั้น การถมที่ดินจึงมีข้อบังคับให้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 จะมีประเด็นหลักที่ต้องดูด้วยกัน 3 ข้อ ดังต่อไปนี้

 

  1. กรณีเจ้าของที่ดินจำเป็นต้องทำการขุดดิน  จำเป็นต้องขุดความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล) และทำการขุดตามแบบที่เจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นกำหนด
  2. กรณีพื้นที่ที่ขุดดินมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร แต่อยู่ใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ เพื่อป้องกันดินทลายลงสู่พื้นที่ข้างเคียง
  3. กรณีถมที่ดินสูงกว่าพื้นที่ใกล้เคียง หากจะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ใกล้เคียง และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง

 

สรุปได้ดังนี้

ระดับความลึก-ความสูง

ข้อควรระวังในการถมดิน

ลึกเกิน 3 เมตร แจ้งเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น และขุดตามแบบที่กำหนด
ลึกไม่เกิน 3 เมตร ป้องกันการพังทลายของดิน ไม่ให้ดินทลายลงสู่พื้นที่ข้างเคียง
สูงกว่าพื้นที่ใกล้เคียง จัดการระบายน้ำไม่ให้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่พื้นที่ข้างเคียง

 

รู้ประเภทของกินก่อนถม

การถมที่ดินต้องตกลงกันให้เรียบร้อยว่าจะใช้ดินอะไรในการถม โดยดินมีหลายประเภท ดังนี้

  1. ดินถมทั่วไป ดินทั่วไปที่มีราคาถูกกว่าดินประเภทอื่น จึงได้รับความนิยมมาก เนื้อดินแน่น แต่ความอุดมสมบูรณ์ของดินน้อย ไม่เหมาะกับการนำไปใช้เพาะปลูก
  2. ดินดาน มีลักษณะแห้ง บดอัดได้ดี นิยมใช้สำหรับถมที่ดินที่ต้องการปลูกสร้างทันที เช่น การถมพื้นถนน หรือที่ดินริมน้ำ
  3. ดินลูกรัง แม้จะเป็นดินที่บดอัดได้ดี แต่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินน้อย ไม่เหมาะกับการนำไปใช้เพาะปลูก
  4. ดินทราย แม้จะราคาถูก แต่มีลักษณะไม่อุ้มน้ำ ถูกกัดกร่อนได้ง่าย ต้องมีการป้องกันดินไหล และบดอัดอย่างดี เพื่อป้องกันการทรุดตัวในอนาคต
  5. หน้าดิน มีลักษณะร่วนพรุน เนื้อดินค่อนข้างละเอียด ระบายน้ำได้ดี เหมาะกับการถมที่ดินที่ต้องการทำสวน หรือทำสนามหญ้า

 

เป็นอย่างไรกันบ้าง วิธีการถมดินเบื้องต้น ก่อนที่จะสร้างบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาควรที่จะตรวจสอบข้อมูลต่างๆให้ถูกต้อง ทาง บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หวังเป็นอย่างยิ่งกว่าบทความนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้อ่านทุกท่าน หากใครสนใจปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ การขายฝาก การจำนอง รวมไปถึงการขอสินเชื่อ สามารถติดต่อเราเข้ามาได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โทร : 02-0962962
Line : @Pacharakrit.ppt หรือคลิก https://lin.ee/xqcU1Y1
E-mail : Pacharakrit.property@gmail.com
Website: www.pacharakritproperty.co.th

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ddproperty.com.com

[Tag] : จำนอง , ขายฝาก , ขายไปซื้อกลับ , ดอกเบี้ยต่ำ , สินเชื่อบ้าน , จำนองบ้าน , สินเชื่อที่ดิน , ขอสินเชื่อ , เงินทุน , เงินก้อน , รับจำนอง , กู้ซื้อบ้าน , บ้านแลกเงิน , จำนองที่ดิน , เงินกู้ , จำนองคอนโด , จำนองที่ดินเปล่า , จดจำนองอสังหาริมทรัพย์ , ถมดิน , ที่ดิน , กฎหมายอสังหาฯ , กฎหมายที่ดิน , พรบ