บทความ

ขายของหน้าบ้านได้หรือไม่?? และมีกฎหมายไหนรองรับและเกี่ยวข้องบ้าง??

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับภาพที่มีการขายของอยู่บริเวณหน้าบ้านของตนเอง ไม่ว่าจะขายอาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว หรืออื่นๆก็ตาม แต่รู้หรือไม่ว่าการขายของบริเวณหน้าบ้านนั้นมีเรื่องของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างไร วันนี้แอดมิน บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จะรวบรวมข้อมูลเหล่านี้มาฝากผู้อ่านกันดังนี้

 

1.ทำร้านขายของบริเวณหน้าบ้าน ประเภทร้านขายของชำ สามารถทำได้หรือไหม

 

1.1 การทำร้านขายของหน้าบ้าน ประเภทร้านขายของชำ หรือสินค้าทั่วไปนั้น ไม่ได้มีกฎหมายควบคุมตัวร้านเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่การจะขายสินค้าแต่ละประเภทก็จะต้องไปดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทนั้น ๆ โดยส่วนมากสินค้าที่ร้านชำขายกันและมีกฎหมายเฉพาะควบคุม ได้แก่ บุหรี่และสุราที่ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายที่ขอจากกรมสรรพสามิต และการขายบุหรี่ต้องไม่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ส่วนสุราก็มีเวลาและวันที่ห้ามขาย

 

1.2 การขายยาก็ขายได้แค่ยาสามัญประจำบ้าน ยาอื่น ๆ ขายไม่ได้ สินค้าประเภทที่ต้องได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา หรือ อย. เช่น อาหารสำเร็จรูป, เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ก็ต้องได้รับ อย. อย่างถูกต้อง ถ้าไม่มี อย. จะนำมาจำหน่ายไม่ได้

 

1.3 สินค้าที่ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เช่น ปลั๊กพ่วง, เครื่องใช้ไฟฟ้า แบบนี้ก็ต้องได้รับ มอก. หากจะขายไพ่ก็ต้องได้รับใบอนุญาตขายจากกรมสรรพสามิต หรือเครื่องชั่งต่าง ๆ ก็ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น 

 

ทั้งนี้สินค้าที่อยู่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมีประเด็นเรื่องภาษีด้วย คือ ถ้าหากมีรายได้ปีละ 1,800,000 บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะในนามบุคคลธรรมดา หรือในนามนิติบุคคล ก็จะต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าหรือบริการที่จำหน่ายออกจากร้านก็จะต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไป และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรทุกเดือนด้วย

 

2.ทำร้านขายของบริเวณหน้าบ้าน ประเภทร้านขายอาหาร สามารถทำได้หรือไหม

 

กรณีการทำร้านขายของบริเวณหน้าบ้าน ประเภทร้านขายอาหาร มีความแตกต่างจากการขายของชำตรงที่ร้านขายอาหารจะมีกฎหมายที่ควบคุมตัวร้านโดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ ที่กำหนดให้ผู้ที่จะประกอบธุรกิจร้านอาหารต้องขอใบอนุญาตจำหน่ายอาหาร และสะสมอาหาร ซึ่งต้องขอจากหน่วยงานท้องถิ่น เช่น หากเป็นเขตกรุงเทพมหานครก็ต้องขอกับสำนักงานเขต หรือหากเป็นต่างจังหวัดก็ขอกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่นในพื้นที่

 

ทั้งนี้หากในร้านมีการขายสุราให้นั่งดื่มหรือจำหน่ายยาสูบในร้านก็ต้องขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราและยาสูบ และสำหรับร้านที่มีการตั้งหน้าร้านบนทางสาธารณะ ก็ต้องขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องขอต่อหน่วยงานท้องถิ่นเช่นกัน ส่วนเรื่องภาษี หากการขายอาหารมีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี ก็ต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในลักษณะเดียวกันกับการขายของชำด้วย

 

3.ทำร้านขายของบริเวณหน้าบ้าน ในหมู่บ้านจัดสรรกับบ้านนอกโครงการจัดสรรต่างกันไหม

 

การขายของชำหรือการขายอาหารในโครงการหมู่บ้านจัดสรรมีความแตกต่างกับนอกโครงการหมู่บ้านจัดสรร ตรงที่ต้องพิจารณาตามระเบียบและข้อบังคับของหมู่บ้านจัดสรรนั้นๆด้วยว่าอนุญาตให้สามารถทำได้หรือไม่ หากไม่อนุญาตก็ไม่สามารถที่จะทำได้ และหากฝ่าฝืนทำก็อาจถูกมาตรการบังคับจากหมู่บ้านจัดสรร (ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือไม่ก็ตาม)

ยกตัวอย่างเช่น การห้ามลูกค้าเข้ามาในโครงการ, ห้ามลูกค้าจอดรถ, การบังคับล้อ, การออกข้อบังคับเก็บค่าปรับ หรือการไปแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นที่มีอำนาจควบคุมเข้ามาตรวจสอบใบอนุญาต และสั่งห้ามประกอบกิจการ เป็นต้น

 

4.กรณีทำร้านขายของบริเวณหน้าบ้านแล้วกระทบสิทธิบ้านข้างเคียง

 

เป็นเรื่องปกติที่การทำร้านของบริเวณหน้าบ้าน ไม่ว่าจะขายของชำหรือร้านอาหาร อาจส่งผลกระทบต่อบ้านใกล้เรือนเคียงบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกลิ่น,เสียง,ควัน,เศษขยะมูลฝอย หรือน้ำเสีย แม้กระทั้งกรณีที่มีลูกค้าจำนวนมากมารบกวนบริเวณหน้าบ้านข้างเคียง หรือการจอดรถก็ตาม ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีไป

 

สำหรับเรื่องที่มีกฎหมายที่มีโทษทางอาญาห้าม ได้แก่ เรื่องกลิ่น, เสียง, ควัน, เศษมูลฝอย หรือน้ำเสีย ที่มีพระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ และพระราชบัญญัติความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองฯ กำหนดมาตรการไว้แล้วว่าหากสร้างมลพิษเหล่านี้ หน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ สำนักงานเขต หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นจะมีอำนาจสั่งให้แก้ไข หรือหยุดการกระทำ และมีอำนาจดำเนินคดีอาญา ที่มีโทษปรับ หรือโทษจำคุก

 

 

บางกรณี บ้านข้างเคียงที่ได้รับความเดือดร้อนจึงสามารถไปดำเนินการร้องเรียนต่อหน่วยงานดังกล่าวได้ และถึงแม้ร้านนั้น ๆ จะได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องทุกอย่าง แต่หากในภายหลังสร้างมลพิษรบกวนไม่เป็นไปตามกฎหมาย ก็อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้ ส่วนการจอดรถกีดขวางในที่ห้ามจอด ก็เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบกฯ ซึ่งบ้านข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนต่อตำรวจท้องที่มีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายได้

 

และกรณีที่ไม่มีกฎหมายที่มีโทษอาญาบังคับ เช่น การที่มีคนผ่านไปมาหน้าบ้านข้างเคียงจำนวนมาก หรือมีไรเดอร์ หรือผู้ขนส่งมาติดต่อรับของไป ๆ มา ๆ รบกวนทั้งวัน ถึงจะอยู่บนพื้นที่สาธารณะก็ตาม หรือการที่มีรถเข้าออกบริเวณใกล้เคียงทั้งวัน ถึงจะไม่ได้จอดกีดขวางทางสาธารณะก็ตาม กรณีแบบนี้หากสิ่งรบกวนต่อบ้านข้างเคียงมากจนถึงระดับที่รบกวนการดำเนินชีวิตตามปกติสุข บ้านข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบก็สามารถฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายต่อร้านขายของนั้น ๆ ได้ กรณีแบบนี้จะไม่มีโทษอาญา เพราะคำพิพากษาของศาลในคดีแพ่งเพียงแค่จะบังคับให้ฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น

 

เป็นอย่างไรกันบ้าง แอดมินหวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นความรู้ไม่มากก็น้อยให้แก่ผู้อ่านเพื่อใช้ในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้อง ทั้งในแง่ของข้อกฎหมายด้วย บริษัท พชรกฤษฏิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นบริษัทเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯ การขายฝาก การจำนอง รวมไปถึงการขอสินเชื่อ สามารถติดต่อเราเข้ามาได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โทร : 02-0962962
Line : @Pacharakrit.ppt หรือคลิก https://lin.ee/xqcU1Y1
E-mail : Pacharakrit.property@gmail.com
Website: www.pacharakritproperty.co.th

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ddproperty.com

[Tag] : จำนอง , ขายฝาก , ขายไปซื้อกลับ , ดอกเบี้ยต่ำ , สินเชื่อบ้าน , จำนองบ้าน , สินเชื่อที่ดิน , ขอสินเชื่อ , เงินทุน , เงินก้อน , รับจำนอง , กู้ซื้อบ้าน , บ้านแลกเงิน , จำนองที่ดิน , เงินกู้ , จำนองคอนโด , จำนองที่ดินเปล่า , จดจำนองอสังหาริมทรัพย์ , ต่างชาติ , ซื้ออสังหาฯ , ซื้อขายอสังหาฯ , ซื้อขายทีดิน , ซื้อทีดิน , ซื้อบ้าน , ซื้อคอนโด , บ้าน , คอนโด , ที่ดิน , อสังหาฯ , อสังหาริมทรัพย์ , กฎหมาย , กฎหมายอสังหาฯ , กฎหมายอสังหาริมทรัพย์